ยาคุมหญ้าหรือสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนที่วัชพืชจะงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน เป็นการฉีดพ่นลงไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องฉีดพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นเหมาะสม สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน
สรรพคุณ : ใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้าง
อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ เป็นลม และลมหายใจอ่อน
ส่วนยาฆ่าหญ้า หรือ สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยจำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2,4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น
- สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือ กก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่นในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น
สรรพคุณ : ใช้ฆ่าหญ้าเพื่อไม่ให้หญ้างอกเร็วเกินไป
อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : เมื่อสารเคมีเหล่านี้ สัมผัสถูกบาดแผลจะทำลายชั้นเนื้อเยื่อแบบต่อเนื่องไม่หยุด และมีอาการปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก
อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ลมหายใจมีกลิ่น ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตาพร่ามัว พูดไม่ชัดกล้ามเนื้อกระตุก กั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชักหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากหัวใจและระบบโลหิตล้มเหลว ดังนั้นเกษตรกรจึงควรตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ยาฆ่ายาทุกชนิดและใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างถูกวิธี
ที่มา : https://www.cpi-th.com/th/product-detail/25/plam
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106